Insight ระบบฐานข้อมูล RMTS Online EP.3

April 22,2022

Insight ระบบฐานข้อมูล RMTS Online (3)

จากที่ผู้ใช้บริการได้มีข้อซักถามทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างการคีย์ข้อมูลในช่องต่าง ๆ และวิธีการใช้งานระบบ เช่น การคีย์ข้อมูลในไฟล์สูตรอ้างอิงและสูตรผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องคีย์ข้อมูล
ทุกช่องหรือไม่ การคีย์ข้อมูลในแต่ละช่องสามารถดูข้อมูลมาจากที่ไหน หรือ การโอนข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลปัจจุบันเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล RMTS Online ต้องดำเนินการอย่างไร ดังนั้น เพื่อช่วยคลายข้อสงสัยและความกังวลในการคีย์ข้อมูล สมาคม ฯ ได้รวบรวมคำถามยอดนิยมจากผู้เข้าอบรมมาให้คำตอบเพื่อความเข้าใจที่กระจ่างชัดเจน ถูกต้อง และตรงกัน ดังนี้

1. คำถามเกี่ยวกับการคีย์ข้อมูลไฟล์สูตรอ้างอิงและสูตรผลิตภัณฑ์
ช่อง Product Card หมายถึงอะไร สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากที่ไหน และต้องคีย์ข้อมูลอย่างไรถึงจะส่งข้อมูลผ่าน
คำตอบ Product Card หมายถึง ชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ซึ่งบริษัทสามารถดูข้อมูลได้จากบัตรส่งเสริมของบริษัทที่แสดงในหน้า เงื่อนไขเฉพาะโครงการ หรือเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง สำหรับการคีย์ข้อมูลชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมให้ตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการบันทึกลงในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สมาคม ฯ ได้เชื่อมโยงข้อมูล Product Card ของแต่ละบริษัทและแต่ละบัตรส่งเสริมมาแสดงในเมนูบนระบบ IC Online System ให้เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของข้อมูลที่เมนู “เอกสารประกอบการพิจารณา” โดยระบบจะแสดงรายละเอียดของโครงการ ดังรูปภาพ

ซึ่งบริษัทสามารถคัดลอกชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมนั้นมาบันทึกในแบบฟอร์มการคีย์ข้อมูลการขออนุมัติสูตรอ้างอิงได้ทันที

ข้อควรระวัง !! ห้ามบริษัทแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ให้คัดลอกตามที่ระบุเท่านั้น

1.2 ช่อง Weight Per Piece หรือ น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ต่อหน่วย
• บริษัทจำเป็นต้องระบุน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยหรือไม่
• กรณีหน่วยส่งออกเป็น C62, SET หรืออื่น ๆ ต้องระบุด้วยหรือไม่ หากระบุจะต้องระบุอย่างไร
• ถ้าน้ำหนักที่ระบุในสูตรผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับที่ระบุในใบขนสินค้าขาออกจะมีผลกับการตัดบัญชีหรือไม่
• การระบุน้ำหนักของผลิตภัณฑ์คิดจากการใช้วัตถุดิบแบบ Net Weight หรือ Gross Weight
• กรณีกิจการเป็น IPO ต้องระบุน้ำหนักของผลิตภัณฑ์หรือไม่
• สูตรผลิตภัณฑ์เดิมที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วไม่ระบุน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ เมื่อโอนข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูล RMTS Online จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการระบุน้ำหนักของผลิตภัณฑ์หรือไม่

คำตอบ
การกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มสูตรอ้างอิงสำหรับขออนุมัติ/แก้ไขสูตรผลิตภัณฑ์ บริษัทจำเป็นต้องกรอกข้อมูลน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยในช่องดังกล่าวทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นกิจการ IPO/ITC หรือ Manufacturing
กรณีหน่วยของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกเป็น C62, SET หรืออื่น ๆ รวมถึงสูตรผลิตภัณฑ์สำหรับการส่งออกทางอ้อม บริษัทจะต้องชั่งน้ำหนักของผลิตภัณฑ์นั้นและระบุน้ำหนักให้เป็นกิโลกรัมเท่านั้น โดยน้ำหนักที่นำมากรอกข้อมูลจะต้องเป็นน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่รวมส่วนสูญเสียวัตถุดิบแล้ว (Gross Weight)
สำหรับสูตรผลิตภัณฑ์เดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว หรือที่บันทึกในระบบ RMTS เดิมแบบไม่ได้ระบุน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ไว้ เมื่อโอนข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูล RMTS Online บริษัทไม่จำเป็นต้องแก้ไขโดยการระบุน้ำหนักของผลิตภัณฑ์เพิ่มเข้าไป และสามารถใช้ข้อมูลเดิมตัดบัญชีวัตถุดิบได้ตามปกติ

ในกรณีที่บริษัทคีย์ข้อมูลระบุน้ำหนักในสูตรผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจาก สกท. ไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาออกกับกรมศุลกากร ก็สามารถตัดบัญชีวัตถุดิบได้ตามปกติเช่นกัน เนื่องจากระบบยังไม่มีการนำน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่ระบุในสูตรไปใช้ในการตัดบัญชีวัตถุดิบ
1.3 ช่อง Usage Per บริษัทจะพิจารณาอย่างไรว่าจะเลือกใช้ต่อ 1 หน่วย หรือ ต่อ 1,000 หน่วย
คำตอบ Usage Per หมายถึง การคีย์ข้อมูลเพื่อบ่งบอกว่าปริมาณการใช้วัตถุดิบในสูตรผลิตภัณฑ์นี้เป็นการใช้วัตถุดิบต่อ 1 หน่วยของผลิตภัณฑ์หรือต่อ 1,000 หน่วยของผลิตภัณฑ์ ซึ่งบริษัทจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนการจะเลือกใช้ว่าเป็นต่อ 1 หน่วยหรือต่อ 1,000 หน่วยนั้น บริษัทสามารถพิจารณาเลือกได้ตาม
ความเหมาะสมของการใช้วัตถุดิบของบริษัทเอง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ สกท.จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติอีกครั้ง

2. การเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูล RMTS Online สำหรับผู้ใช้บริการรายเดิม
2.1 ข้อมูลที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลเดิม บริษัทต้องคีย์ข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูล RMTS Online ใหม่ทั้งหมดหรือไม่
ข้อมูลที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลเดิมของบริษัทไม่ว่าจะเป็นบัญชีรายการและปริมาณสต็อกสูงสุด รายการชื่อรองวัตถุดิบและสูตรผลิตภัณฑ์ สมาคม ฯ จะเป็นผู้ดำเนินการโอนข้อมูลทั้งหมดเข้าระบบฐานข้อมูล RMTS Online โดยบริษัทไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น และบริษัทสามารถใช้งานระบบสั่งปล่อยและตัดบัญชีวัตถุดิบได้ตามปกติ บริษัทจะใช้งานระบบฐานข้อมูล RMTS Online ก็ต่อเมื่อ
1. ต้องการขอแก้ไขบัญชีรายการและปริมาณสต็อกสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงปริมาณสต็อกสูงสุดหรือการขอเพิ่มรายการวัตถุดิบใหม่
2. ต้องการขออนุมัติสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่
3. ต้องการขอแก้ไขสูตรผลิตภัณฑ์เดิมที่ได้รับอนุมัติจาก สกท. และบันทึกในระบบแล้ว
4. ต้องการกำหนดระยะเวลานำเข้าครั้งแรกของ Group_MaxImport (ถ้ามี)

2.2 เนื่องจากโครงสร้างการคีย์ข้อมูลของระบบฐานข้อมูล RMTS เดิม ไม่เหมือนกับโครงสร้างการคีย์ข้อมูลของระบบฐานข้อมูล RMTS Online บริษัทต้องคีย์ข้อมูลเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อมูลในส่วนที่ไม่ตรงกันของสองระบบหรือไม่
สำหรับโครงสร้างการคีย์ข้อมูลของระบบฐานข้อมูล RMTS Online ที่มีเพิ่มเติมจากระบบฐานข้อมูล RMTS เดิมนั้น บริษัทไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เนื่องจากบริษัทสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูล RMTS เดิมได้ต่อเนื่องตามปกติ

2.3 การใช้งานระบบฐานข้อมูล RMTS Online บริษัทยังคงต้องยื่นเอกสารต่าง ๆ หรือหนังสือบริษัทเหมือนเดิมอีกหรือไม่

คำตอบ
2.1 เนื่องจากระบบฐานข้อมูล RMTS Online เป็นระบบงานไร้เอกสาร ดังนั้นขั้นตอนการขออนุมัติงานต่าง ๆ ของบริษัทจาก สกท. จึงไม่ต้องใช้เอกสารประกอบการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนำส่งของบริษัท เอกสารบัญชีรายการวัตถุดิบหรือสูตรผลิตภัณฑ์ที่ขออนุมัติ ส่วนรูปภาพประกอบการพิจารณา เช่น รายละเอียดการใช้วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิตตามหนังสืออนุมัติแจ้งมติ เป็นต้น ให้บริษัทสแกนเป็นไฟล์รูปภาพ หรือ ไฟล์ PDF และส่งไฟล์ผ่านระบบ IC Online ที่เมนู “เอกสารประกอบการพิจารณา” แทน ซึ่งบริษัทสามารถส่งรูปภาพได้หลายรูปและไฟล์ข้อมูลได้มากกว่า 1 ไฟล์ แต่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ที่ต้องมีขนาดไม่เกิน 2 MB

นอกจากคำถามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นแล้ว บริษัทสามารถเข้าดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ทางเว็บไซต์สมาคม www.ic.or.th รวมถึงศึกษารายละเอียดวิธีการคีย์ข้อมูลไฟล์ต่างๆ ได้เพิ่มเติมผ่านคลิปวิดีโอที่สมาคม ได้จัดทำและเผยแพร่ผ่าน Facebook สมาคม Investor Club Association – สมาคมสโมสรนักลงทุน 
...........................................

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง