การสงวนสิทธิ์กรณีนำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อกลับมาซ่อมแซม

November 17,2022

การสงวนสิทธิ์กรณีนำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อกลับมาซ่อมแซม

Q: กรณีที่บริษัทนำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อกลับมาซ่อมแซม บริษัทต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ต้องชำระอากรขาเข้า และหากสามารถทำได้ ระหว่างที่ดำเนินการยังไม่เรียบร้อย บริษัทจะสามารถชำระอากรแล้วสงวนสิทธิ์ไว้ก่อนได้หรือไม่

A: ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ สามารถขอนำกลับเข้ามาซ่อมแซม เพื่อจะส่งกลับออกไปอีกครั้งหนึ่ง โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้การซ่อมแซม

ขั้นตอนคือ

1. ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อก เพื่อเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม ขออนุมัติปริมาณสต๊อกได้ไม่เกิน 10% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริมการลงทุน

    Project Code ใช้เป็นมาตรา 36(1) แบบหมุนเวียน คือ xxxxxx11

    Group No. ให้เริ่มต้นจาก R00001 ไปตามลำดับ

    ชื่อหลัก ให้ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก

    ชื่อรอง ให้ใช้ตามผลิตภัณฑ์ที่จะนำกลับเข้ามาซ่อม

2. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นำไปบันทึกฐานข้อมูลที่สมาคม (IC) จากนั้น ยื่นสั่งปล่อยวัตถุดิบเช่นเดียวกับขั้นตอนปกติ

3. ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตจาก BOI จากนั้นนำไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC โดยสูตรจะต้องเป็น 1 ต่อ 1 เท่านั้น จะไม่อนุมัติรายการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ใช้เพื่อการซ่อมแซม

ยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบหลังจากส่งผลิตภัณฑ์ที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วออกไปต่างประเทศ ระหว่างที่ยื่นแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อก สามารถชำระภาษีอากรสงวนสิทธิ์ได้เช่นเดียวกับกรณีการสงวนสิทธิ์วัตถุดิบรายการอื่นๆ
.................

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง