การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ส่งกลับมาซ่อม ผ่านระบบ IC online

October 09,2023

การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ส่งกลับมาซ่อม ผ่านระบบ IC online

Q: บริษัทต้องการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ส่งกลับมาซ่อม (บริษัทดำเนินการกิจการผลิตมอเตอร์แล้วมีโมเดลจำนวนมาก มากกว่าสองพันรายการ) เช่น มีเคสต้องการส่งโมเดล Motor Model : A000001 มาซ่อม

บริษัทขอสอบถาม ดังนี้
หากบริษัทต้องดำเนินการขอเป็นครั้งๆ ไป เมื่อมีโมเดลใดโมเดลหนึ่งที่ต้องการนำกลับมาซ่อมหรือไม่
     1) ขอแก้ไขบัญชีรายการและปริมาณสต็อกสูงสุด กรณีนี้ ต้องใช้ชื่อกลุ่มและรายการวัตถุดิบว่าอะไร
          Group :
          รายการวัตถุดิบ :

          ทั้งนี้ บริษัทสามารถทำอย่างไร เพื่อในอนาคตเมื่อมีโมเดลอื่นๆ เข้ามา เช่น Motor Model : A000002, A000003 เป็นต้น บริษัทจะไม่ต้องขอแก้ไขบัญชีรายการวัตถุดิบทุกครั้ง เพราะเข้าใจว่าขั้นตอนนี้ใช้เวลานาน

    2) จำเป็นต้องได้รับอนุมัติสูตรผลิตภัณฑ์รีเทิร์นก่อนการนำเข้ามาเพื่อซ่อมหรือไม่ หรือควรดำเนินการอย่างไร

    3) เข้าใจว่าเมื่อได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบแล้วจะสามารถสั่งปล่อยวัตถุดิบเพื่อนำเข้ามาซ่อมโดยไม่ต้องเสียอากร ใช่หรือไม่

A: ตอบคำถามดังนี้

1. การขอนำสินค้ากลับเข้ามาซ่อม ปัจจุบันต้องขออนุมัติสต็อกตามโมเดลนั้นๆ เช่น
     group R00001 TV 123
     group R00002 TV 456
   แต่ในอนาคต ระบบ New RMTS Online จะอนุญาตให้สินค้าแต่ละชนิด สามารถรวมทุกๆ โมเดลเป็นสต็อกเดียวกันได้
 
   โดยการขอแก้ไขบัญชีรายการสต็อกวัตถุดิบ ดำเนินการดังนี้
     - ยื่นผ่านระบบ IC online
     - ใช้เวลาพิจารณา 30 วันทำการ
     - สต็อกสูงสุดของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ไม่เกิน 5% ของกำลังผลิตที่ได้รับอนุมัติ

2. ต้องได้รับอนุมัติสูตรผลิตภัณฑ์รีเทิร์นก่อนการตัดบัญชีวัตถุดิบ แต่ในขั้นตอนการนำเข้า / สั่งปล่อยวัตถุดิบ ได้รับอนุมัติเพียงบัญชีรายการวัตถุดิบ (สินค้ารีเทิร์น) ก็พอ

3. การได้รับอนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบ คือ การได้รับยกเว้นอากรขาเข้า (และ VAT) โดยมีเงื่อนไขต้องผลิตเพื่อส่งออก ทั้งนี้ การอนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบ เป็นการสั่งปล่อยในข่ายวัตถุดิบ (แม้จะเป็นสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม)
โดยมีหลักเกณฑ์อื่นๆ เหมือนกับวัตถุดิบทั่วไป คือ หากสิ้นสุดสิทธิ มาตรา 36 บริษัทต้องส่งออกและตัดบัญชีวัตถุดิบให้เสร็จสิ้นใน 2 ปี
.............

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง