กระตุ้นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

August 18,2022

กระตุ้นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์สำคัญของมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก คือ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตหรือให้บริการ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร่วมมือและสนับสนุนกิจการขององค์กรท้องถิ่นในกิจการด้านการเกษตรและเกษตรแปรรูป กิจการในอุตสาหกรรมเบา กิจการท่องเที่ยวชุมชน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม และล่าสุด คือ การพัฒนากิจการเกษตรที่ยั่งยืน (ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564)
โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน / ขอรับสิทธิและประโยชน์ภายใต้มาตรการนี้ ภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565

เงื่อนไขการได้รับสิทธิและประโยชน์ แบ่งเป็น 2 กรณี ประกอบด้วย
กรณีที่ 1 : กิจการเดิม ได้แก่
• เป็นโครงการที่อยู่ในประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมได้ในขณะที่ยื่นขอรับส่งเสริมฯ และหาก
• เป็นโครงการที่เคยได้รับการส่งเสริมต้องเป็นโครงการที่ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือสิทธิฯ ได้สิ้นสุดลงแล้ว
>> จะได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงิน 120% ของเงินลงทุน
โดยเงื่อนไขของผู้สนับสนุนหรือร่วมดำเนินการ
1) จะต้องมีเงินลงทุน >1 ล้านบาท / โครงการ และ >200,000 บาท / ราย
2) ต้องให้การสนับสนุนแก่ผู้รับด้าน - เครื่องจักรและอุปกรณ์ -ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และมีความร่วมมือกับท้องถิ่น

กรณีที่ 2 : เป็นโครงการที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยังไม่สิ้นสุดหรือโครงการใหม่ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ในข่ายได้ยกเว้นภาษี
>> จะได้รับสิทธิและประโยชน์ เพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 120% ของเงินลงทุน
โดยเงื่อนไขของผู้สนับสนุนหรือร่วมดำเนินการ
1) จะต้องมีเงินลงทุน>200,000 บาท/ราย
2) ต้องให้การสนับสนุนแก่ผู้รับในด้าน - เครื่องจักรและอุปกรณ์ -ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และมีความร่วมมือกับท้องถิ่น

ผู้รับการสนับสนุน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในประเภทกิจการเกษตรและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมเบา ท่องเที่ยวชุมชน การบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้ง และการแก้ไขปัญหาน้าท่วม และการพัฒนากิจการเกษตรที่ยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการเศรษฐกิจฐานราก สามารถขอรับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการอื่นได้ด้วย

**สำคัญ : ผู้ประกอบการต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริมการลงทุนหรือวันที่อนุมัติให้แก้ไขโครงการแล้วแต่กรณี โดยต้องไม่เกินระยะเวลาที่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่างแนวทางในการสนับสนุนกิจการด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเบา
- การนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้ เช่น เครื่องจักรเทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อยกระดับการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
- การฝึกอบรมเพื่อยกระดับเทคโนโลยีหรือมาตรฐานผลิต เช่น มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตทางการเกษตรสู่ระดับสากล เช่น มาตรฐาน Good Agricultural Practices: GAP, มาตรฐาน Good Manufacturing Practices: GMP การอบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพดี แสดงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น การออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนาคุณภาพเส้นใยให้มีสีสันสวยงามและทนทานยิ่งขึ้น และการพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อทำของที่ระลึก/ของฝาก ยกระดับผลิตภัณฑ์ชี้บ่งทางภูมิศาสตร์ไทย (GI: Geographical Indication) เป็นต้น

ตัวอย่างแนวทางในการสนับสนุนกิจการท่องเที่ยวชุมชน
- การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับแหล่งท่องเที่ยว เช่น ป้ายบอกทาง ห้องน้ำสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวชุมชน และห้องละหมาด เป็นต้น
- การสนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานและความปลอดภัย เช่น สนับสนุนอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับการท่องเที่ยวทางทะเลหรือการเดินป่า ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย เป็นต้น
- การสนับสนุนเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนให้ยั่งยืน เช่น อบรมสร้างความรู้ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สนับสนุนการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานหรือรถไฟฟ้าลดมลพิษ
- การสนับสนุนการนำเทคโนโลยี IoT หรือ Big Data มาใช้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้รองรับนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เช่น สร้างระบบ Smart Tourism เพื่อช่วยบูรณาการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นระบบยิ่งขึ้น

ตัวอย่างแนวทางในการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม
- ต้องครอบคลุมทั้งในส่วนของการบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
- ต้องดำเนินการในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งหรือพื้นที่ที่เกิดปัญหานาท่วมซ้ำซากเท่านั้น โดยแผนการดำเนินการบริหารจัดการน้ำต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และสอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
- จะคำนวณมูลค่ายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ที่จ่ายจริงในการสนับสนุนองค์กรท้องถิ่น เช่น ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ การขุดบ่อเพื่อกักเก็บน้า และการบำรุงรักษา/ล้างบ่อบาดาล เป็นต้น
ตัวอย่างโครงการที่ สทนช. เห็นชอบในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและนาท่วมซ้ำซาก เช่น โครงการพัฒนาระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โครงการพัฒนาระบบเติมน้ำใต้ดินโครงการต่อขยายระบบของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ เป็นต้น

สรุปมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก
1. กำหนดเงื่อนไข: มีแผนความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น (วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ประกอบกิจการด้านเกษตรและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมเบา การท่องเที่ยวชุมชน การบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมในพื้นที่แล้งหรือน้ำท่วมซ้ำซากตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และการพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืน โดย
    • การบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมฯ แผนความร่วมมือและพื้นที่แล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก ต้องได้รับความเห็นชอบ/รับรองจาก สทนช. เท่านั้น
    • การพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืน แผนร่วมมือต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มกอช.
    *การสนับสนุนฯ เช่น อุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ และสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้องค์กรท้องถิ่น*
2. แบบฟอร์มที่ใช้ในการขอรับส่งเสริม



.................................

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง