การนับเงินลงทุนเพื่อใช้เป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หากพบข้อผิดพลาดเรื่องวงเงินลงทุน ควรปฏิบัติอย่างไร

September 08,2023

การนับเงินลงทุนเพื่อใช้เป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หากพบข้อผิดพลาดเรื่องวงเงินลงทุน ควรปฏิบัติอย่างไร

Q: บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี (บัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ) โดยช่วงที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้แจ้งว่ามีเงินลงทุน 36 ล้าน ในบัตรส่งเสริมระบุให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 18 ล้าน โดยปัจจุบันลงทุนครบแล้วเป็นเงิน 34 ล้าน

ยกตัวอย่าง บริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังนี้

ปีที่ 1 ลงทุน 20 ล้าน ใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษี 10 ล้าน
ปีที่ 2 ลงทุน 10 ล้าน ใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษี 5 ล้าน
ปีที่ 3 ลงทุน 4 ล้าน ใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษี 2 ล้าน

หลังจากนั้นแจ้งเปิดดำเนินการ ถ้าเจ้าหน้าที่ BOI ตรวจสอบพบว่า เงินลงทุนที่แท้จริงไม่ถึง 34 ล้าน (เช่น บริษัทอาจตรวจสอบมูลค่าการลงทุนผิดพลาดไป) บริษัทต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร

A: หากบริษัทมีการปรับลดมูลค่าการลงทุน และวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (เช่น ปรับลดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้จาก 18 ล้าน เป็น 12 ล้าน) แต่บริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เกินกว่าวงเงินที่ถูกปรับลด (เช่น ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไป 3 รอบปี เป็นเงิน 16 ล้าน = ใช้สิทธิเกินไป 4 ล้าน) ประเด็นที่บริษัทต้องการสอบถาม น่าจะหมายความว่า บริษัทต้องแก้ไข ภงด. และชำระภาษีเพิ่มเติม ของรอบปีใด

ซึ่งอาจเป็นไปได้ 2 วิธี คือ
1) ตั้งแต่รอบปีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสะสมเกินกว่าวงเงินยกเว้นภาษีที่ถูกปรับลด (คือ ตั้งแต่รอบปีที่ใช้สิทธิเกินกว่า 12 ล้านบาท)

2) รอบปีที่เป็นต้นเหตุการถูกปรับลดมูลค่าการลงทุนและวงเงินยกเว้นภาษี (ซึ่งอาจเป็นรอบปีใดรอบปีหนึ่ง หรือหลายรอบปีก็ได้)

ในกรณีของบริษัท เข้าใจว่า BOI ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติไว้

ดังน้ัน แนวทางการดำเนินการ น่าจะเป็นวิธีที่ 1 เพราะวิธีที่ 2 น่าจะซับซ้อนมาก โดยบริษัทควรขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ บีโอไอ กองติดตามและประเมินผลการลงทุน ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท ด้วยอีกทางหนึ่ง

Q1: แนวทางการดำเนินการของบริษัท คือ ควรเปิดดำเนินการให้แล้วเสร็จ ก่อนการใช้ภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบสุดท้าย เพื่อให้ทราบวงเงินที่แท้จริง ใช่หรือไม่

A1: 1. ปกติ BOI จะตรวจสอบการยื่นใช้สิทธิในแต่ละปี ให้ถูกต้อง ดังนั้น การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ใช้ไปก่อนหน้านั้น จึงจะไม่เกินวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะตรวจสอบมูลค่าการลงทุนในขั้นเปิดดำเนินการ

      2. แต่ในบางกรณี เช่น มีการจำหน่ายเครื่องจักรหรือสินทรัพย์ ออกไปก่อนวันเปิดดำเนินการ มูลค่าการลงทุนของโครงการ อาจต่ำกว่ายอดที่บริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว ก็ได้

      3. ไม่จำเป็นต้องเปิดดำเนินการก่อนใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้รอบปีสุดท้าย เนื่องจากบริษัทสามารถคำนวณมูลค่าการลงทุนและวงเงินยกเว้นภาษีเองได้


บริษัทจึงระวังเพียงไม่ให้ใช้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เกินกว่าวงเงินที่คำนวณได้ น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
..........................

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง