การแก้ไขโครงการเพื่อความสอดคล้องกับการดำเนินกิจการหลังได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน

July 08,2022

การแก้ไขโครงการเพื่อความสอดคล้องกับการดำเนินกิจการหลังได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน

<แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์>
โครงการที่จะขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการ และต้องเป็นประเภทกิจการที่สำนักงานให้การส่งเสริมการลงทุนอยู่ในปัจจุบัน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 ทั้งนี้ จะมีผลตั้งแต่วันที่บริษัทยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ โดยการแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ แบ่งได้ 3 กรณีดังนี้

- การขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
- การขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
- การยกเลิกผลิตภัณฑ์ จะต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ หากการยกเลิกผลิตภัณฑ์ทำให้สาระสำคัญไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์จะพิจารณายกเลิกบัตรส่งเสริม

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา
 :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
ในบัตรส่งเสริมการลงทุนจะมีการกำหนดเงื่อนไขที่ระบุกำลังผลิตสูงสุดหรือขนาดการให้บริการสูงสุดของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมเอาไว้
กรณีที่มีผลิตหรือให้บริการเกินกว่ากำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม ส่วนเกินกว่ากำลังการผลิตที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่สามารถนำกำลังผลิตส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริมมาตัดบัญชีวัตถุดิบได้ โดยการแก้ไขกำลังการผลิต แบ่งได้ 4 กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 การเพิ่มกำลังการผลิต โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
จะต้องเป็นโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการ จะให้เพิ่มกำลังการผลิตรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของกำลังการผลิตตามบัตรส่งเสริมฉบับแรก
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป. 3/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติแก้ไขโครงการกรณีที่มีการลงทุนเพิ่ม

กรณีที่ 2 การเพิ่มกำลังการผลิต โดยการเพิ่มเวลาทำงาน
จะได้รับอนุญาตให้เพิ่มกำลังการผลิตได้ตามสัดส่วนของเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าโครงการนั้นจะเปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตเพิ่มกำลังการผลิต (จากการเพิ่มเวลาทำงาน) (F PA PC 15) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตเพิ่มกำลังการผลิต (จากการเพิ่มเวลาทำงาน)

กรณีที่ 3 การเพิ่มกำลังการผลิต ตามข้อเท็จจริงทางวิศวกรรม
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ

กรณีที่ 4 การลดกำลังการผลิต
จะพิจารณาให้ลดกำลังผลิตได้ แต่ต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ
ทั้งนี้ สามารถยื่นเอกสารแก้ไขโครงการ ที่กองส่งเสริมการลงทุน 1 – 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
 
<แก้ไขกรรมวิธีการผลิต>
สำนักงานได้กำหนดเงื่อนไขกระบวนการผลิตหรือให้บริการ ซึ่งผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
กรณีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ผลิตตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม จะไม่ถือเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ดังนั้น รายได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าว จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่สามารถนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตัดบัญชีวัตถุดิบได้ โดยการแก้ไขกรรมวิธีการผลิตแบ่งออกเป็น 4 กรณีดังนี้
เพิ่มขั้นตอนการผลิต โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม จะต้องเป็นโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการ
เพิ่มขั้นตอนการว่าจ้าง จะต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม
ลดขั้นตอนการผลิต จะต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม
กรณีอื่นๆ สามารถยื่นขอให้สำนักงานพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป และอาจมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเป็นพิเศษให้สอดคล้องกับการแก้ไขนั้นๆ

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา 
:
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7

<แก้ไขสภาพเครื่องจักร>
ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องระบุสภาพเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต โดยการใช้เครื่องจักรดังกล่าวจะนำไปกำหนดเงื่อนไขไว้ในบัตรส่งเสริม เพื่อให้ผู้ได้รับการส่งเสริมปฏิบัติตาม หากผู้ได้รับการส่งเสริมไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข มีผลให้บัตรส่งเสริมดังกล่าวถูกเพิกถอนการได้รับการส่งเสริมได้
ดังนั้น หากผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้มีการปรับแผนการลงทุนในเครื่องจักรจากเดิม เช่นจากการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้น เป็นการใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศ ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อให้สำนักงานพิจารณาได้ โดยมีแนวทางพิจารณาเบื้องต้น ดังนี้
(1) เครื่องจักรเก่าทุกเครื่องที่จะใช้ในโครงการ จะต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
(2) หากเครื่องจักรนั้นเป็นเครื่องจักรหลักของโครงการ จะไม่สามารถเปิดดำเนินการให้ได้ จนกว่าบริษัทจะทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร และแก้ไขโครงการเพื่อขออนุญาตใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการ (เฉพาะกรณีที่มีเงื่อนไขให้ใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้น)

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา
 :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7

<แก้ไขทุนจดทะเบียน>
ผู้ที่ได้รับการส่งเสริม จะมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนหรือการเรียกชำระทุนจดทะเบียนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามบัตรส่งเสริม เว้นแต่ผู้ได้รับส่งเสริมจะยื่นขอแก้ไขเงื่อนไขทุนจดทะเบียนให้สำนักงานพิจารณา โดยแนวทางเบื้องต้น ดังนี้
- หากบัตรส่งเสริมการลงทุนกำหนดเงื่อนไขทุนจดทะเบียนสูงเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ในโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะอนุญาตให้แก้ไขโครงการเพื่อลดทุนจดทะเบียนหรือลดทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่าหลักเกณฑ์ข้างต้นที่กำหนด
- หากลดทุนจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาขาดทุนสะสม หรือลดทุนจดทะเบียนเพื่อชำระคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น สำนักงานจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขทุนจดทะเบียน (F PA PC 09) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขทุนจดทะเบียน ที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7

.......................................................
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง