มาตรการบีโอไอเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

April 18,2022

มาตรการบีโอไอเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายด้านเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความเสี่ยงจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของไทยให้ชะลอตัว คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ จึงได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ให้ความสำคัญต่อการพลิกฟื้นการลงทุนของภาคเอกชน ส่่งเสริิมให้้เกิิดการลงทุนในพื้นที่และอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงกระตุ้้นให้้ภาคเอกชนมีีส่่วนร่่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างรวดเร็ว เกิดการสร้างงาน กระจายรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้แก่

1. มาตรการกระตุ้นการลงทุน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ขยายเวลามาตรการกระตุ้นการลงทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง จากเดิมที่สิ้นสุดในปี 2564 ให้สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้ถึงสิ้นปี 2565 ซึ่งมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ดังนี้
เงื่อนไข
1) ใช้กับโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปี 2565
2) ต้องเป็นกิจการในกลุ่ม A1 A2 และ A3 (ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 - 8 ปี ตามเกณฑ์ปกติ) ยกเว้น
1) ประเภทกิจการที่ไม่มีที่ตั้งสถานประกอบการ เช่น กิจการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางเรือ เป็นต้น
2) ประเภทกิจการที่กำหนดเงื่อนไขให้ตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ เขตเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น
3) ต้องเป็นโครงการที่ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ รวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปี
4) ต้องมีการลงทุนจริง (โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
5) ไม่อนุญาตให้ขยายเวลาตอบรับการส่งเสริมและส่งหลักฐานการออกบัตรส่งเสริม ทั้งนี้ จะพิจารณาขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการตามความเหมาะสม
6) ต้องยื่นหลักฐานการลงทุนจริงเพื่อขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายใน 18 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม ทั้งนี้ สำนักงานจะพิจารณาขยายเวลายื่นหลักฐานการลงทุนจริงเพื่อขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม โดยในวันที่ยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการนี้ จะต้องมีสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลืออยู่ทั้งระยะเวลาและวงเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม
จะได้รับสิทธิและประโยชน์การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ

2. มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อส่่งเสริิมให้้เกิิดการลงทุนในกิิจการเป้าหมายและในพื้นที่่ 3 จัังหวััด คืือ ฉะเชิิงเทรา ชลบุรีี และระยอง ตลอดจนกระตุ้้นให้้ภาคเอกชนมีีส่่วนร่่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาพื้นที่ EEC เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายหลักของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 ดังนั้นผู้ที่ลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ที่กำหนดหรือมีการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2563 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ลงวันที่ 15 มกราคม 2563 และประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปหลักเกณฑ์ สิทธิและประโยชน์ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กำหนดให้พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน
(2) กำหนดให้กิจการในกลุ่ม A3 ขึ้นไป (ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 - 8 ปีตามเกณฑ์ปกติ) และกิจการในหมวด 8 การพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย รวมถึงกิจการที่มีการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในหมวด 8 เป็นกิจการเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ยกเว้นประเภทกิจการที่มีนโยบายเฉพาะที่จะไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการนี้ตามที่สำนักงานกำหนด เช่น กิจการที่ไม่มีที่ตั้งสถานประกอบการชัดเจน กิจการที่มีเงื่อนไขบังคับเรื่องที่ตั้งสถานประกอบการซึ่งไม่อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง เป็นต้น
(3) กำหนดการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    ในกรณีที่มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาตามรูปแบบที่กำหนด ได้แก่ ความร่วมมือในโครงการ Work-integrated Learning (WiL) สหกิจศึกษาและทวิภาคี หรือความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอื่นๆ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยจะต้องยื่นแผนความร่วมมือในการรับนักเรียนหรือนักศึกษาเข้าฝึกอาชีพ โดยมีจำนวนนักเรียนหรือนักศึกษาที่จะรับเข้าฝึกอาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือ ไม่น้อยกว่า 40 คน แล้วแต่จำนวนใดต่ำกว่า โดยจะให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
     - กิจการในหมวด 8 การพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย และกิจการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 2 ปี
     - กิจการในกลุ่ม A3 ขึ้นไป ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เพิ่มเติม 3 ปี
     ที่ตั้งโครงการ
     1) กรณีตั้งโครงการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ ทั้ง 5 แห่ง ได้แก่
          - เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa)
          - เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)
          - เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
          - เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์(พัทยา) (EECmd)
          - เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : การแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) (EECg) ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมดังนี้
          - กิจการในหมวด 8 การพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย และกิจการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเติม 1 ปี
          - กิจการในกลุ่ม A3 ขึ้นไป ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เพิ่มเติม 2 ปี
      2) ในกรณีตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริมในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้
นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี ตามหลักเกณฑ์ในประกาศ กกท. ที่ 2/2557 ทั้งนี้ โครงการที่สามารถดำเนินการเข้าข่ายหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ด้าน (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และที่ตั้งโครงการ) ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมควบคู่กันได้
สรุปสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม กรณีตั้งโครงการในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้ดังนี้

กิจการเป้าหมาย

เงื่อนไขในการได้รับสิทธิฯ ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม

เกณฑ์การพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เกณฑ์ที่ตั้ง

EECa, EECi*, EECd,
EECmd, EECg

นิคมอุตสาหกรรม
หรือเขตอุตสาหกรรม

หมวด 8 และกิจการสนับสนุน
(สิทธิพื้นฐาน ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 10 ปี)

+ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 2 ปี

+ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 1 ปี

+ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 1 ปี

A1, A2
(สิทธิพื้นฐาน ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 8 ปี)

+ ลดหย่อนภาษีเงินได้ฯ 50% 3 ปี

+ ลดหย่อนภาษีเงินได้ฯ 50% 2 ปี

-

A3
(สิทธิพื้นฐาน ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 5 ปี)

+ ลดหย่อนภาษีเงินได้ฯ 50% 3 ปี

+ ลดหย่อนภาษีเงินได้ฯ 50% 2 ปี

+ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 1 ปี

หมายเหตุ * ในกรณี EECi ซึ่งมีสถานะเป็นเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมนั้น ตามประกาศ กกท. ที่ 2/2557 กำหนดให้กิจการเป้าหมายที่ตั้งในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

ประเภทกิจการเป้าหมาย

สิทธิพื้นฐาน

สิทธิเพิ่มเติม

กรณีตั้งในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ

- กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์

- กิจการวิจัยและพัฒนา

- กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

- กิจการบริการออกแบบทางวิศวกรรม

- กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์

- กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน

- กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี

โดยไม่จำกัดวงเงิน

ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50%

เพิ่มเติมอีก 5 ปี

- กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย

- กิจการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี

โดยไม่จำกัดวงเงิน

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 2 ปี

โดยไม่จำกัดวงเงิน

   
     (3) ผ่อนผันที่ตั้งโครงการลงทุนในกิจการเป้าหมายตามมาตรการ EEC ที่จะขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมกรณีตั้งโครงการในเขต EECi ให้สามารถตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเห็นชอบจาก กกท. ให้เป็นเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ โดยจะต้องย้ายไปตั้งอยู่ในเขต EECi ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565
     (4) กรณีโครงการใดได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมแล้วเกิน 8 ปี จะไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 35 (1) เพิ่มเติมอีก
     (5) มาตรการนี้ให้มีผลบังคับถึงวันทำการสุดท้ายของปี 2565 ยกเว้นสิทธิและประโยชน์ตามที่ตั้งในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 5 แห่ง ได้แก่ EECa, EECi, EECd, EECmd และ EECg สามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการนี้ได้โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดในการยื่นคำขอ

     ทั้งนี้ มาตรการกระตุ้นการลงทุน และมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและพื้นที่ทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง

(หมายเหตุ: รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดูประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและคำชี้แจงที่เกี่ยวข้องได้ที่ www.boi.go.th)

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง