มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร (ปรับปรุงโครงการเดิมหรือปรับปรุงสายการผลิตหรือให้บริการที่มีอยู่เดิม)
ขอบข่าย
• ใช้กับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับการส่งเสริม
- เป็นประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมในวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม
- กรณีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องสิ้นสุดแล้ว หรือไม่เคยได้รับยกเว้น
• กรณีทั่วไป ลงทุน >1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
• กรณี SMEs ลงทุน > 5 แสนบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
สิทธิและประโยชน์
• ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี (จากรายได้ของกิจการที่ดาเนินการอยู่เดิม)เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนในการปรับปรุงโดยไม่รวมค่าที่ดิน/ทุนหมุนเวียน (กรณีใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศ >30% จะให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ฯ เป็นสัดส่วน 100%)
• ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม
เงื่อนไข
• ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน
• ต้องดำเนินการให้ได้ตามตัวชี้วัดที่กาหนด เช่น การลดลงของต้นทุนทางตรงต่อหน่วย การเพิ่มขึ้นของ Yield เป็นต้น
• ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565
**โครงการที่ขอรับการส่งเสริมต้องอยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมตามประเภทกิจการที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และไม่ได้อยู่ใน Negative List ตามประกาศ สกท.
มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของกิจการที่ทำอยู่เดิม เพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยการผลิต/บริการ และเพิ่มอัตราการได้มา (Yield) โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีใช้ระบบ Automation มีการนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิต อาจจะนำมาใช้ในบำงขั้นตอน เช่น Work Cell เป็นต้น หรือนำมสใช้ทั้งสายการผลิตก็ได้ Machine to Machine / Process to Process (ไม่รวมกรณีนำเครื่องจักรอัตโนมัติมำใช้งานเป็นรำยเครื่อง)
- ต้องเป็นประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมในขณะยื่น
- กลุ่ม Aที่สิทธิยกเว้น/ลดหย่อน CIT สิ้นสุดแล้ว
- กลุ่ม B (ยกเว้นบางประเภท)
- ไม่ว่ากิจการเดิมจะได้รับกำรส่งเสริมหรือไม่ก็ตำม
2. กรณีไม่ใช้ระบบ Automation การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของเครื่องจักร โดยใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยขึ้น แต่ไม่ใช่ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ (Stand Alone Machine)
- ต้องเป็นประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมในขณะยื่น
- กลุ่ม A ที่สิทธิยกเว้น/ลดหย่อน CIT สิ้นสุดแล้ว
- ไม่ว่ากิจการเดิมจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือไม่ก็ตาม
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มผู้ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (กรณีลงทุนใหม่)
สิทธิและประโยชน์ : ยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565
• ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนระบบอัตโนมัติ (กรณีใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศ >30% จะให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นสัดส่วน 100%)
ขอบข่าย
• โครงการลงทุนใหม่ในสายการผลิต/บริการ
• อยู่ในประเภทกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (กลุ่ม B) ยกเว้นประเภทกิจการที่มีนโยบายเฉพาะที่จะไม่ให้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่สำนักงานกำหนด
• กรณีทั่วไป ลงทุน >1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
• กรณี SMEs ลงทุน>5 แสนบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
เงื่อนไข : โครงการที่ขอรับการส่งเสริมต้องไม่ได้อยู่ใน Negative List ตามประกาศ สกท. และต้องยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565
.....................