script src="https://kit.fontawesome.com/fd8777d600.js" crossorigin="anonymous">
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์โอกาสขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ที่มีความหมายเฉพาะตัว คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม
ความหมายข้างต้นได้ถูกกำหนดขึ้นโดยสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2561 และได้กำหนดคำจำกัดความของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” ซึ่งตามกรอบแนวคิดของ UNCTAD อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จะหมายรวมถึง วงจรของการสร้าง (Creation) การผลิต (Production) และการจัดจำหน่ายกระจาย (Distribution) สินค้าและบริการที่ใช้ความสร้างสรรค์ (Creativity) และทุนทางภูมิปัญญา (Intellectual Capital) เป็นปัจจัยพื้นฐานหลัก (Primary Inputs)
สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทยจะประกอบด้วย 15 สาขาสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) งานฝีมือและหัตถกรรม 2) ดนตรี 3) ศิลปะการแสดง 4) ทัศนศิลป์ 5) ภาพยนตร์ 6) การแพร่ภาพและกระจายเสียง 7) การพิมพ์ 8) ซอฟต์แวร์ 9) การโฆษณา 10) การออกแบบ 11) การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม 12) แฟชั่น 13) อาหารไทย 14) การแพทย์แผนไทย และ 15) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
โดยในปัจจุบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เกือบทุกประเภทกิจการใน 15 สาขา ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและภาคบริการ โดยบีโอไอได้มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการลงทุนให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับตามสถานการณ์และเทรนด์การลงทุนที่เกิดขึ้น เช่น การให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกับผู้ลงทุนที่มีการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ หรือ การให้สิทธิพิเศษในบางประเภทกิจการแก่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ลงทุนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย
โดยทุกประเภทกิจการใน 3 กลุ่มนี้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและอยู่ภายใต้การดูแลโดยกองส่งเสริมการลงทุน 4 “อุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างสรรค์และบริการที่มีมูลค่าสูง” ของบีโอไอ ซึ่งเป็นกองที่ได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เมื่อเดือนตุลาคม 2563 เพื่อมุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมนี้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่ 3-8 ปี (แล้วแต่กรณีและเงื่อนไข) เช่น กิจการผลิตเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประกอบการแต่งกายและเคหะสิ่งทอ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยมีเงื่อนไขต้องมีการลงทุนด้านการวิจัยหรือออกแบบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ในบางประเภทกิจการอาจจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่จะได้รับสิทธิประโยชนอื่นๆ แทน และมีเงื่อนไขลดหย่อนพิเศษสำหรับเอสเอ็มอีด้วย
ผู้ประกอบการที่สนใจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.boi.go.th/upload/ejournal/2021/01/index.html#p=1
หรือสอบถามเพิ่มเติม กองส่งเสริมการลงทุน 4 โทรศัพท์ 0 2553 8214
.......................................
ข้อมูลจาก: https://www.boi.go.th/upload/ejournal/2021/01/index.html#p=1
https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/QM153_P107-111.pdf