แนวทางการดำเนินการยื่นขอนำเครื่องจักร (machinery) ไปให้บุคคลอื่นใช้

October 10,2024

แนวทางการดำเนินการยื่นขอนำเครื่องจักร (machinery) ไปให้บุคคลอื่นใช้

Q: บริษัทต้องการดำเนินการนำเครื่องจักรในโครการไปให้บุคคลอื่นใช้ โดยมีคำถามเกี่ยวเนื่องกับขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1. การดำเนินการมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการปฏิบัติอย่างไร

2. ระยะเวลาการพิจารณาอนุมัติ ภายในกี่วันทำการ

3. บริษัทจำเป็นต้องแก้ไขกรรมวิธีการผลิตหรือไม่ เนื่องจากได้เปิดดำเนินการแล้ว และเครื่องจักรน้ัน จะต้องเป็นเครื่องจักรที่อยู่ในกระบวนการผลิตที่ได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นผลิตแทนหรือไม่

4. ข้อมูลด้านสัญญาจ้าง , ข้อมูลคู่สัญญา จะต้องระบุอย่างไร

5. ระยะเวลาที่ขอนำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นใช้ อยู่ในช่วงเวลากี่ปี ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลา สามารถยื่นขออนุญาตต่ออายุได้หรือไม่

6. การดำเนินงานนำเครื่องจักรในโครงการไปให้บุคคลอื่นใช้ มีเอกสารอ้างอิง หรือประกาศฉบับใดอ้างอิง หรือไม่

7. รายได้ และรายจ่าย ที่เกิดขึ้นจากการนำเครื่องจักรไปให้บุคคลอื่นใช้ การระบุบุคคลเป็นผู้เกิดรายได้ และบุคคลเป็นผู้เกิดรายจ่าย บริษัทจะต้องบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายอย่างไร

A: การอนุญาตให้ผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนนำเครื่องจักรที่ใช้สิทธิมาตรา 28/29 ไปให้ผู้อื่นใช้ เป็นอำนาจของบีโอไอ ตาม พรบ. ส่งเสริมการลงทุน มาตรา 41 โดยปัจจุบันกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.7/2559 ข้อ 4 กล่าวโดยสรุปคือ การจะนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์ไปให้ผู้อื่นใช้ (ให้ผู้รับจ้างใช้) ต้องมีการระบุการว่าจ้าง และการจะนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์ไปว่าจ้าง ไว้ในกรรมวิธีการผลิตที่ได้การรับส่งเสริมด้วย
    ตัวอย่าง เช่น
    - นำแผ่นโลหะมาตัด หรือนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผู้อื่นตัดแผ่นโลหะ (*1)
    - Machining
    - บางส่วนชุบเคลือบผิว หรือนำไปว่าจ้างผู้อื่นชุบเคลือบผิว (*2)
    - ตรวจสอบ บรรจุ จำหน่าย

จากกรณีข้างต้นนี้
1) สามารถนำแม่พิมพ์ตัดโลหะไปให้ผู้รับจ้าง ใช้เพื่อตัดแผ่นโลหะได้ ตามกรรมวิธีผลิต (*1) แต่จะนำเครื่องตัดแผ่นโลหะไปให้ผู้รับจ้างใช้ไม่ได้
2) สามารถนำชิ้นงานที่ผ่านการ Machining แล้วไปจ้างชุบเคลือบผิวได้ (*2) แต่จะนำเครื่องชุบผิวไปให้ผู้รับจ้างใช้ไม่ได้

กรณีที่ต้องการนำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นใช้
จะต้องแก้ไขกรรมวิธีการผลิตให้มีขั้นตอนการนำเครื่องจักรไปว่าจ้างผลิต เช่น
- บางส่วนชุบเคลือบผิว หรือนำเครื่องชุบเคลือบผิวไปว่าจ้างผู้อื่นชุบเคลือบผิว (*3) แต่โดยทั่วไป อาจจะไม่ได้รับอนุมัติ เนื่องจากตามปกติ ผู้รับจ้างจะเป็นผู้ประกอบธุรกิจนั้นๆโดยตรงอยู่แล้ว เช่น รับจ้างตัดแผ่นเหล็ก รับจ้างชุบเคลือบผิว และผู้รับจ้างจะมีเครื่องจักรของตนเอง เพื่อประกอบธุรกิจรับจ้างนั้นๆอยู่แล้ว จึงขาดเหตุผลที่ผู้ว่าจ้างจะต้องนำเครื่องจักรตามมาตรา 28/29 ไปให้ผู้รับจ้างใช้

กรณีที่ได้รับอนุมัติกรรมวิธีการผลิต ให้มีการนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน
1) การนำเครื่องจักรตามมาตรา 28/29 ไปให้ผู้อื่นใช้ตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ ต้องยื่นขออนุญาตเป็นรายเครื่อง ในระบบ eMT Online
2) แต่การนำแม่พิมพ์ตามมาตรา 28/29 ไปให้ผู้อื่นใช้ตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ ไม่ต้องยื่นขออนุญาต
...................................

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง