การใช้สิทธิและประโยชน์บีโอไอด้านวัตถุดิบ
1. ขอบข่ายของวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ
วัตถุดิบ (Raw Material) หมายถึง ของ ที่ใช้ในการผลิต ผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ โดยรวมถึงของที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ด้วย
วัสดุจำเป็น (Essential Material) หมายถึง ของซึ่งจำเป็นต้องใช้และเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลืองในการผลิตหรือผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ คุณภาพและมาตรฐาน ช่วยลดการสูญเสีย และเพิ่มผลผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลดังกล่าว
2. ภาพรวมการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตส่งออก (มาตรา 36)
1.เป็นการอนุมัติก่อนการใช้สิทธิ
2.นำเข้าภายในระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ
3.ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก
4.ใช้ผลิตในโรงงานของผู้ได้รับสิทธิประโยชน์
5.วัตถุดิบที่ไม่สามารถใช้ผลิตเพื่อส่งออกได้มีภาระภาษีอากร
3. การขยายเวลานําเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36
สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบฯ ตามมาตรา 36 จะนับระยะเวลาสิทธิจากวันที่ใช้สิทธินำเข้าครั้งแรก เมื่อครบระยะเวลาการได้รับสิทธิ บริษัทฯสามารถขยายเวลาการได้รับสิทธิออกไปได้ ทั้งนี้บริษัทต้องใช้สิทธิอย่างถูกต้องและเหมาะสม เช่น มีการนำเข้า-ส่งออก -ตัดบัญชี ตามปกติ บริษัทฯสำหรับการขยายเวลาการใช้สิทธิได้ ครั้งละ 1-2 ปี โดยจะมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ขยายเวลาได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลา แต่ไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ
2. ยื่นคำขอผ่านระบบขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบฯ (ของสำนักงาน BOI) โดยสำนักงานจะขยายเวลาให้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี
3. โครงการที่จะขอขยายระยะเวลาจะต้องนำใบขนขาออกของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกแล้วเกินกว่า 1 ปี (จากวันที่จะยื่นขอขยายเวลา) มาตัดบัญชีวัตถุดิบให้เสร็จก่อน สำนักงานจึงอนุมัติ และหากไม่ดำเนินการภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ยื่นขอขยายเวลาสำนักงานจะไม่อนุมัติ
4. สูตรการผลิต
สูตรการผลิต เป็นสิ่งที่ระบุว่าการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด/รุ่น ใช้วัตถุดิบใดบ้าง และแต่ละชนิดมีปริมาณการใช้เท่าไร เพื่อยื่นให้สำนักงานพิจารณาอนุมัติรายการวัตถุดิบแต่ละชนิดว่ามี ปริมาณการใช้เท่าใดในการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด เพื่อนำไปใช้ในการตัดบัญชีวัตถุดิบออกจากปริมาณสต็อกที่ได้รับอนุมัติ
5. ปริมาณสต๊อกสูงสุด (Max Stock)
สต๊อกสูงสุด (Max Stock) เป็นบัญชีที่กำหนดรายการวัตถุดิบและปริมาณสูงสุดของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่จะให้นำเข้ามาผลิตได้ เช่น สารเคมี A นำเข้าสะสมได้สูงสุด 200 ตัน สารเคมี B นำเข้าสะสมได้สูงสุด 500 ตัน เป็นต้น โดยจะอนุมัติรายการวัตถุดิบและปริมาณเพื่อใช้สำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม 4 เดือน
ประเภทของสต็อกสูงสุด แบ่งเป็น บัญชีนี้เป็น “บัญชีหมุนเวียน” และ ปริมาณ max import
แบบหมุนเวียน คือ เมื่อบริษัทนำเข้าวัตถุดิบแต่ละชนิด สำนักงานก็จะบันทึกในบัญชีดังกล่าว และเมื่อส่งออกก็จะตัดออกไปจากบัญชีทำให้มีพื้นที่สำหรับนำเข้าได้เพิ่มเติม เช่น เมื่อนำเข้าสารเคมี A จนเต็ม 200 ตันแล้ว และนำไปใช้ผลิตและส่งออก (และแจ้งตัดบัญชีแล้ว) 50 ตัน ก็จะเหลือสารเคมีในบัญชี = 200 – 50 = 150 ตัน เป็นต้น
ปริมาณ max import สำนักงานจะอนุมัติ ปริมาณสต็อกเป็นปริมาณสูงสุดไว้ และเมื่อบริษัทฯ นำเข้า จะทำการบันทึกยอดนำเข้าไว้ บริษัทฯจะไม่สามารถนำเข้าได้อีก ถึงแม้จะมีการส่งออก โดยบริษัทฯจะต้องทำสรุปยอดการใช้วัตถุดิบให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถขอปริมาณสต็อกในรอบต่อไปได้
โดยปกติสำนักงานจะอนุญาตให้อนุมัติ Max Stock ให้เพียงพอสำหรับการผลิต 4 เดือนต่อรอบ เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งออกและดำเนินการตัดบัญชีอย่างเหมาะสม
6. บัญชีรายการวัตถุดิบ
บัญชีรายการวัตถุดิบ เป็นบัญชีรายการวัตถุดิบที่สำนักงานอนุมัติให้บริษัทฯ (ปริมาณสต๊อกสูงสุด (Max Stock) ทั้งชื่อหลัก (ชื่อที่ใช้ทั่วๆ ไป) และชื่อรอง (ชื่อทางการค้าซึ่งอาจจะใช้แตกต่างกันไปในแต่ละ invoice ที่ใช้นำเข้า) การจัดการบัญชีนี้ให้ถูกต้องทำให้เกิดความสะดวกในการนำเข้าในแต่ละรอบ เนื่องจากบางครั้งวัตถุดิบที่ได้รับมาอาจจะใช้ชื่อ และรุ่นที่ซับซ้อน การขออนุมัติชื่อรองและการประสานงานกับ supplier จึงเป็นส่วนสำคัญสำหรับการนำเข้าอย่างยิ่ง
ชื่อหลัก |
ชื่อรอง |
คำอธิบาย |
ผงซักฟอก |
บรีส |
ผงซักฟอกใช้สำหรับซักผ้า |
|
โอโม่ |
ผงซักฟอกใช้สำหรับซักผ้า |
Remote control |
Remote |
รีโมทควบคุม |
|
TV Remote |
รีโมทควบคุม TV |
|
Remote TV |
รีโมทควบคุม TV |
ชื่อหลัก |
ชื่อรอง |
พิกัดศุลกากร |
คำอธิบาย |
ปริมาณสต็อกสูงสุด |
ผงซักฟอก |
บรีส |
|
ผงซักฟอกใช้สำหรับซักผ้า |
10,000 |
|
โอโม่ |
|
ผงซักฟอกใช้สำหรับซักผ้า |
|
Remote control |
Remote |
|
รีโมทควบคุม |
10,000 |
|
TV Remote |
|
รีโมทควบคุม TV |
|
|
Remote TV |
|
รีโมทควบคุม TV |
|
7. การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
เมื่อบริษัทได้รับอนุมัติสูตร และสต๊อกสูงสุดเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะสามารถเริ่มขออนุมัติ “สั่งปล่อยวัตถุดิบ” เพื่อให้สำนักงานออกหนังสือไปยังกรมศุลกากรเพื่อให้ปล่อยวัตถุดิบได้โดยไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
การขออนุญาตสั่งปล่อยในแต่ละรอบ จะต้องบันทึกรายการและปริมาณวัตถุดิบที่จะนำเข้าตามบัญชีรายการวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติ โดยจะอนุมัติสั่งปล่อยเฉพาะชื่อรองเท่านั้น
การสั่งปล่อยวัตถุดิบแบ่งได้ ดังนี้
1. การสั่งปล่อยตามปกติ สั่งปล่อยเพื่อนำเข้าวัตถุดิบ
2. การสั่งปล่อยถอนค้ำประกัน กรณีที่วัตถุดิบต้องนำเข้ามาก่อนได้รับอนุมัติ และได้ค้ำประกันอากรขาเข้าไว้ด้วย Bank Guarantee จึงมาทำการสั่งปล่อยเพื่อยกเว้นภาษีภายหลัง และถอนค้ำประกันที่ได้ยื่นไว้กับกรมศุลกากร
3. การสั่งปล่อยขอคืนอากร กรณีที่ได้ชำระอากรฯ ไปก่อน แล้วจึงมาทำเรื่องสั่งปล่อยเพื่อขอคืนอากรตามสิทธิที่ได้ กรณีนี้ต้องดำเนินการภายใน 2 ปีนับจากวันที่นำเข้าวัตถุดิบครั้งดังกล่าว
8. การตัดบัญชีวัตถุดิบ
การตัดบัญชีวัตถุดิบ คือ ขั้นตอนการลดยอดปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบที่ลงบัญชีไว้ เมื่อมีการส่งผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายต่างประเทศแล้ว หรือวัตถุดิบที่ใช้ไปแล้วมีเศษส่วนสูญเสีย หรือไม่ได้ใช้วัตถุดิบนั้น บริษัทสามารถตัดบัญชีวัตถุดิบที่บันทึกไว้ได้ตามกรณีต่างๆ ดังนี้
วัตถุดิบที่นำเข้ามาสู่โครงการแล้ว บางส่วนบริษัทนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ แต่วัตถุดิบบางส่วนนำมาผลิตจำหน่ายในประเทศ หรือเป็นส่วนที่ไม่อยู่ในผลิตภัณฑ์ เช่น เป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ หรือเป็นเศษสูญเสียจากการผลิต เป็นต้น บริษัทอาจจะดำเนินการเพื่อตัดบัญชีให้สิ้นภาระภาษีได้ตามกรณี ดังนี้
1. กรณีที่เป็นส่วนสูญเสียในสูตร เช่น การตัดขอบ ส่วนที่เหลือจากการฉีดขึ้นรูป ซึ่งรู้สัดส่วนแน่ชัดและแสดงไว้ในสูตรการผลิต
a. ขออนุมัติส่งออกไปต่างประเทศ
b. ขออนุมัติจำหน่ายในประเทศ โดยชำระภาษีตามสภาพเศษ
2. กรณีส่วนสูญเสียนอกสูตร และวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ผลิต สามารถตัดบัญชีได้โดย
a. การส่งออกกลับไปต่างประเทศ
b. การทำลายวัตถุดิบ หรือส่วนสูญเสียให้เป็นซาก และนำซากดังกล่าวไปชำระภาษีตามสภาพ (อัตราภาษีที่ต้องชำระต่ำลง)
c. ชำระภาษีวัตถุดิบที่ได้นำเข้ามาโดยตรง เพื่อตัดออกจากบัญชีวัตถุดิบ
d. บริจาคให้แก่หน่วยงานรัฐ หรือสถานศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับส่วนสูญเสียต้องขออนุญาตก่อนดำเนินการ