อีลอน มัสก์ กล่าวว่า "ในยุคที่พลังงานไฟฟ้ามาถึง แบตเตอรี่จะเป็นหัวใจสำคัญต่อภาคการขนส่ง ไม่แพ้น้ำมันในวันนี้"
เมื่อการลดการปล่อยคาร์บอนกลายเป็นเทรนด์โลกในยุคปัจจุบัน จึงเกิดความท้าทายในการแสวงหาพลังงานยั่งยืนในยุคที่จะถึงนี้
สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ “แบตเตอรี่” อุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ซึ่งทำหน้าที่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้งาน และถึงแม้แบตเตอรี่จะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ยังคงมีการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่อยู่ทุกวัน
มูลค่าตลาดแบตเตอรี่ทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จาก 50,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,744,852,620 ล้านบาท ในปี 2021 ที่จะพุ่งขึ้นสูงถึง 225,550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7,852,636,025 ล้านบาท ภายในปี 2030 หรือคิดเป็น 18.9% ต่อปี (CAGR) ตามการคาดการณ์ของ Polaris Market Research
สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ “เอเชีย” ซึ่งกำลังกลายเป็น HUB สำหรับการผลิตแบตเตอรี่ EV ของโลก
ยิ่งไปกว่านั้น พบว่า 2 ใน 5 ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยักษ์ใหญ่ของโลก กำลังปักหมุด 📍เตรียมเดินหน้าตั้งโรงงานอยู่ในประเทศไทย
*CATL หรือ Contemporary Amperex Technology ผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV อันดับ 1 ของโลก CATL จับมือกับ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus) บริษัทในกลุ่มปตท. ร่วมจัดตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบ Cell-To-Pack (CTP)* ในประเทศไทย พร้อมแผนการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทด้วยเทคโนโลยี
ขั้นสูงสู่เป้าหมายการเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ครบวงจรในอาเซียน โดยจะเดินสายการผลิตในปี 2024
*แบตเตอรี่ Cell-To-Pack (CTP) เป็นการเชื่อมต่อรวมเซลล์ทั้งหมดเป็น Battery Pack โดยไม่แบ่ง module ทำให้ประหยัดพื้นที่ เพิ่มความจุพลังงาน ช่วยให้รถวิ่งได้ในระยะทางไกลขึ้น
เทคโนโลยีล่าสุดของ CATL คือ ฉีหลิน (Qilin) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี CTP รุ่นที่ 3 กับประสิทธิภาพการใช้ความจุทำลายสถิติที่ 72% มีความหนาแน่นของพลังงานสูงสุดถึง 255 Wh/kg ทำให้แบตเตอรี่ส่งกำลังได้เป็นระยะทางกว่า 1,000 ก.ม.
* BYD ผู้ผลิตแบตเตอรี่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก
BYD มีแผนก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ชนิดพิเศษ (Blade Battery) ในประเทศไทย โดยจะเป็นครั้งแรกในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในฐานการผลิตนอกประเทศจีน
โดยนวัตกรรม Blade Battery สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า มีลักษณะบาง ซึ่งตรงตามความหมายของคำว่า “Blade” ที่แปลว่า ใบมีด แบตเตอรี่ชนิดนี้มีคุณสมบัติระบายความร้อนได้ดี และกักเก็บพลังงานได้สูงกว่าแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป และที่สำคัญที่สุดคือมีความปลอดภัยสูง
สำหรับบีโอไอในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ก็มีบทบาทช่วยผลักดันให้เกิดการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทย โดยเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ซึ่งในปัจจุบันบีโอไอไอได้ให้การส่งเสริมการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท รวมไปถึงการผลิต
แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
ตลอดจนการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า ที่ครอบคลุมถึงการผลิตแบตเตอรี่ หรือแม้แต่กิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าและสถานีบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า เพื่อให้ประเทศไทยเกิด ecosystem สำหรับอุตสาหกรรมยายนต์ไฟฟ้า ซึ่งจนถึงตอนนี้ไทยก็เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างครบวงจร
นี่จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยับขึ้นเป็น EV HUB หรือ "ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแห่งเอเชีย"